การประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2562–2563
การประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2562–2563

การประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2562–2563

200–225 รายถูกสังหาร (ข้อมูลกระทรวงบริหารภายใน)[5]304 รายถูกสังหาร (ข้อมูลแอมเนสตี อินเตอร์แนชั่นแนล)[6]160 รายถูกสังหาร (ข้อมูล Iranwire) [7]รวม 1,500 รายถูกสังหาร (ข้อมูลรอยเตอส์ และ PMOI/MEK) [8] [9]การประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2562–2563 (เปอร์เซีย: اعتراضات سراسری ۱۳۹۸ ایران‎) เป็นกลุ่มการประท้วงของพลเมืองทั่วประเทศอิหร่าน แรกเริ่มเกิดขึ้นจากการเพิ่มราคาค่าเชื้อเพลิงขึ้น 50%–200%[13][14][15][16] และ (ในบางพื้นที่) นำไปสู่การเรียกร้องการล้มเลิกรัฐบาลและผู้นำสูงสุด แอลี ฆอเมเนอี[17][18]การประท้วงแรกเริ่มนั้นเป็นการชุมนุมโดยสันติในเย็นวันที่ 15 พฤศจิกายน 2019 แต่ภายในไม่กี่ชั่วโมงก็ได้ขยายออกไปยังเมืองต่าง ๆ 21 เมือง มีวิดีโอต่าง ๆ ถูกอัปโหลดขึ้นออนไลน์มากมาย[19][20][21][22][23] ในท้ายที่สุดการประท้วงนี้ได้กลายเป็นการลุกฮือต่อต้านรัฐบาลที่รุนแรงและร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ประเทศอิหร่านเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบสาธารณรัฐอิสลามเมื่อปี 1979[24][25][26]รัฐบาลได้มีการตัดอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศเพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของข้อมูลการชุมนุมและยอดผู้เสียชีวิตบนอินเตอร์เน็ต ในท้ายที่สุดได้นำไปสู่การตัดอินเตอร์เน็ตเกือบหมดเป็นเวลาเกือบหกวัน[27][28][29][30]ข้อมูลจากแอมเนสตี อินเตอร์แนชันแนลระบุว่ารัฐบาลอิหร่านมีการสั่งให้ยิงผู้ชุมนุมเสียชีวิตจากบนหลังคา เฮลิคอปเตอร์ ที่ระดับใกล้เคียงกับระดับของการยิงปืนแมชชีน (machine gun fire) เพื่อสงบการชุมนุม นอกจากนี้ นิวยอร์กไทมส์ ระบุว่าได้มีการเคลื่อนย้ายศพผู้ชุมนุมที่ถูกสังหารออกไปไว้ในที่ห่างไกลเพื่อปกปิดปริมาณผู้เสียชีวิตแท้จริงจากการโจมตีของรัฐบาลขณะชุมนุม แอมเนสตีระบุอีกว่าความพยายามเพื่อปกปิดความรุนแรงของรัฐบาลยังรวมถึงข่มขู่ครอบครัวและญาติผู้เสียชีวิตไม่ให้จัดพิธีศพหรือพูดคุยกับสื่อ[26][31]มีผู้ประท้วงชาวอิหร่านมากถึง 1,500 รายที่ถูกสังหาร[8][32][33] การโจมตีผู้ชุมนุมได้นำไปสู่การที่ผู้ชุมนุมบุกทำลายธนาคารรัฐ 731 แห่ง รวมถึงธนาคารกลางอิหร่าน, ฐานทัพของรัฐบาล 50 แห่ง, ศูนย์ศาสนาอิสลาม 9 แห่ง, การฉีกทำลายป้ายประกาศต่อต้านอเมริกา และการทำลายภาพ โปสเตอร์ และรูปปั้นของผู้นำสูงสุด แอลี ฆอเมเนอี และอดีตผู้นำสูงสุด โฆเมเนอี

การประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2562–2563

วิธีการ เดินขบวน, จลาจล, เข้านั่งฟังปราศัย, ดื้อแพ่ง, ประท้วงหยุดงาน, กิจกรรมออนไลน์, วางเพลิง
สาเหตุ
  • การฉ้อโกงของรัฐบาล
  • การขึ้นราคาเชื้อเพลิง
  • ความยากจน
  • การกดขี่สิทธิมนุษยชนชน
  • ต่อต้านประธานาธิบดีฮัสซัน รูฮานี และผู้นำสูงสุดแอลี ฆอเมเนอี
  • ต่อต้านสาธารณรัฐอิสลาม
  • ต่อต้านการมีส่วนร่วมของอิหร่านในความขัดแย้งในภูมิภาค
เป้าหมาย
สถานะ สิ้นสุด, สลายการชุมนุม
สถานที่ Iran
วันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 (2019-11-15) – ปัจจุบัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2562–2563 http://www.iranoilgas.com/news/details?id=20992 //www.worldcat.org/issn/0362-4331 https://www.albawaba.com/node/mysterious-disappear... https://www.aljazeera.com/news/2019/11/amnesty-208... https://www.bbc.com/news/world-middle-east-5044442... https://www.bbc.com/persian/iran-52865225 https://www.cnn.com/2019/12/03/middleeast/iran-pro... https://www.dw.com/en/tehran-launches-pro-governme... https://www.economist.com/middle-east-and-africa/2... https://www.haaretz.com/middle-east-news/iran/amne...